logo moodidea transparent2
MOODIDEA CO., LTD.

เครือข่าย (Network) คืออะไร?

moodidea

เครือข่ายคือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสาร แบ่งปันข้อมูล และใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ ตัวอย่างทั่วไปของเครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายวิทยุ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เส้นทางที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายเรียกว่า “ช่องทางการสื่อสาร”

ในการตั้งค่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปโดยใช้สายเคเบิล การ์ดอะแดปเตอร์ และซอฟต์แวร์เพื่อให้เครือข่ายทำงานได้อย่างถูกต้อง

ขนาดของเครือข่าย (Network)

เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศ ในปัจจุบันเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดก็คือ “เครือข่ายอินเทอร์เน็ต”

เครือข่ายมีหลายขนาด ตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันเพียงไม่กี่เครื่องสำหรับใช้ในบ้านหรือในธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงเครือข่ายทั่วโลกที่ครอบคลุมเกือบทุกประเทศทั่วโลก เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ “เครือข่ายอินเทอร์เน็ต”

ล็อกออน (Log on) หรือ ล็อกอิน (Log in)

ก่อนที่ผู้ใช้จะสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ ผู้ใช้ต้องป้อนชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบว่าได้รับอนุญาตให้ใช้เครือข่าย กระบวนการนี้เรียกว่า ล็อกออน (log on) หรือ ล็อกอิน (log in) เมื่อข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้ได้รับการตรวจสอบและถือว่าถูกต้องแล้ว พวกเขาจะสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ผู้คนใช้ภาษาเป็นสื่อในการถ่ายทอดข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ในภาษาจะต้องมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับความหมายของแต่ละสัญลักษณ์และคำที่ใช้สื่อสาร

ตลอดประวัติศาสตร์ มนุษย์ได้สร้างวิธีการและเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมสมัยโบราณใช้สัญญาณควันหรือม้าเร็วในการส่งข้อความ เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า การสื่อสารรูปแบบใหม่ก็เกิดขึ้น เช่น โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ต

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล เกิดจากคำสองคำ คือ

  1. การสื่อสาร (Communication) ซึ่งหมายถึง การส่งเนื้อหาจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง
  2. ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ซึ่งในที่นี้เราจะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปตัวเลข 0 หรือ 1 ต่อเนื่องกันไป เพราะเป็นค่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ

ดังนั้น การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การส่งเนื้อหาที่อยู่ในรูปตัวเลขฐานสองที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ มากมาย เช่น

  • สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆ เฉลี่ยกันไป
  • สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดร์ฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
  • สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์ และข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว
  • สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม
  • สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการส่งเสียงหรือภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร

ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LAN

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งคือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง

วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

  • เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer
  • เครือข่ายแบบ Server-based
  • เครือข่ายแบบ Client/Server

ตาราง เปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบ Server based เทียบกับ Peer-to-Peer

เครือข่ายข้อดีเครือข่าย
Server-Based– มีประสิทธิภาพสูงกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicated Server
– การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า
เร็ว
– ใช้กับเครือข่ายขนาดใหญ่ได้
ระบบรักษาความปลอดภัย
– เสียค่าใช้จ่ายสูงสำหรับเครื่อง Server โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นแบบ Dedicated Server ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้
ไม่สามารถใช้งานทรัพยากรที่เชื่อมอยู่กับ Workstation ได้
ถ้า Server เสียระบบจะหยุดหมด
ติดตั้งยากกว่า
Peer-to-Peerสามารถใช้งานทรัพยากรซึ่งเชื่อมอยู่กับเครื่องใดๆ ในเครือข่าย
ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Server
สามารถกระจายโปรแกรมประยุกต์ไปไว้ยังเครื่องต่างๆ เพื่อลดการจราจรในเครือข่ายได้
ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย
การดูแลระบบทำได้ยาก เนื่องจากทรัพยากรกระจัดกระจายกันไปในเครื่องต่างๆ
มีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าแบบ Server based มาก
เครื่องทุกเครื่องต้องมีหน่วยความจำและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง workstaion ในแบบ Server-based
ความเร็วไม่สูงเท่าแบบ Server-based
ระบบความปลอดภัยไม่ค่อยดี

โทโพโลยี (Topology)

โทโพโลยี คือรูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การเดินสายสัญญาณรวมถึงการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเราจะกล่าวถึงใน 2 ลักษณะ คือโทโพโลยีทางตรรกะ (logical topology) และโทโพโลยีทางกายภาพ (physical topology)

  • โทโพโลยีทางกายภาพ หมายถึงการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ทั้งหมดในเครือข่ายจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรือสายเคเบิ้ล ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงทางวงจรอิเล็กทรอนิกส์
  • โทโพโลยีทางตรรกะ จะแสดงถึงการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของเครือข่ายเป็นในลักษณะของแผนภาพ ซึ่งเป็นการมองที่วิธีการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร โทโพโลยีแบบหนึ่งอาจจะรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี แต่อีกแบบอาจจะเหมาะสมกับการรับส่งไฟล์ขนาดเล็กที่วิ่งไปมาบ่อยๆ ได้ดีกว่า การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการรับส่งข้อมูลในระดับนี้จะใช้สัญญาณไฟฟ้า โดยสัญญาณนี้จะวิ่งบนสื่อกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน แต่สัญญาณอาจจะใช้เส้นทางแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อของเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร

การติดตั้งเครือข่ายโดยส่วนใหญ่ มักจะใช้โทโพโลยีทางกายภาพและทางตรรกะที่สอดคล้องกัน แต่ก็มีบางองค์กรที่ใช้แตกต่างกันไป เช่น ใช้โทโพโลยีทางตรรกะแบบวงแหวน แต่ทางกายภาพแบบดาว เป็นต้น

สื่อส่งข้อมูล (Media)

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมต่างๆ ใช้สัญญาณในการรับส่งข้อมูล สัญญาณเหล่านี้ถูกส่งจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบด้วย กำลังไฟฟ้า เสียง คลื่นวิทยุ แสงอินฟาเรด แสงที่มนุษย์มองเห็น แสงอัลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมาและรังสีคอสมิค

การสื่อสารในปัจจุบันไม่ได้ใช้ทุกส่วนในแถบความถี่ รวมทั้งสื่อส่งข้อมูลที่ใช้ได้ยังมีเพียงไม่กี่ชนิด แถบความถี่ของคลื่นเสียง (ถัดจากคลื่นวิทยุลงไป) มักจะใช้สายทองแดงเป็นสื่อในการส่งผ่าน เช่น สายคู่บิดเกลียว หรือสายโคแอกเชียล ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ก็มักจะใช้สื่อชนิดนี้ ถัดมาก็เป็นคลื่นวิทยุที่มักนำไปใช้เป็นสื่อส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายระยะไกล ส่วนแสงที่มนุษย์มองเห็นก็ถูกนำมาใช้เช่นกันคือถูกนำมาใช้ในสายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถจำแนกสื่อส่งข้อมูลได้ 2 ลักษณะคือ

  1. สื่อส่งข้อมูลแบบใช้สาย
  2. สื่อส่งข้อมูลแบบไม่ใช้สาย

***กรณีของเครือข่ายระยะไกล จะมีเครือข่ายโทรศัพท์ ระบบ ISDN เครือข่าย packet switching

ส่วนในกรณีของระบบเครือข่ายแบบ WAN และอินเทอร์เน็ต มักจะเป็นสายเชื่อมต่อพิเศษที่มีความเร็วสูงหรือไม่ก็ใช้การส่งสัญญาณผ่านระบบไมโครเวฟและดาวเทียม โดยมีเทคโนโลยีเฉพาะอีกหลายอย่าง เช่น ATM (Asynchronous Transfer Mode) Frame Relay เป็นต้น

ระบบเครือข่ายแบบ WAN

ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิทัล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น

ประเภทของเครือข่าย WAN

เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. เครือข่ายส่วนตัว (private network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น
    • การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ และหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
  2. เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network) หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยแบ่งปันค่าใช้จ่ายไป ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่าง หลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่างๆ

ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบในรูปแบบนี้ภายใต้การบริการของ GE (General Electric) ตั้งระบบชื่อ GEIS (GE Information Services Company) สำหรับประเทศไทย เริ่มมีแนวความคิดในการใช้ระบบนี้ในเครือข่าย GINET (Government Information Network) โดยทางเนคเทคจะตั้งเครือข่ายเพื่อการบริการ และให้หน่วยงานต่าง ๆ มาเชื่อมสัญญาณเข้าที่ระบบนี้

ทำ SEO โดย : Moodidea

Table of Contents

Moodidea

DIGITAL MARKETING

บริการรับทำการตลาดออนไลน์ (Digital marketing) แบบครบวงจร มาที่เราครบจบในที่เดียว